เมนู Toggle

POPULAR

มีขั้นตอนอย่างไร? เมื่อต้องขอ “มิเตอร์ไฟฟ้า” ไม่มีบ้านเลขที่

มีขั้นตอนอย่างไร? เมื่อต้องขอ “มิเตอร์ไฟฟ้า” ไม่มีบ้านเลขที่

เมื่อบ้านสร้างแล้วเสร็จก็ได้เวลาของการเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านหลังใหม่สักที แต่จะอยู่ได้อย่างไรถ้ายังไม่ติดตั้งไฟฟ้า ลองมาดูว่าขั้นตอนและวิธีการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีเลขที่บ้าน จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอะไรบ้าง รวมถึงการขอย้ายเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และมิเตอร์ไฟฟ้าต้องทำอย่างไร หาคำตอบทั้งหมดได้ที่นี่

 

คุณสมบัติของผู้ที่จะขอมิเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีเลขที่บ้าน

ผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้ามีดังนี้

  1. เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า
  3. ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า

 

เอกสารที่ผู้ขอมิเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีเลขที่บ้าน ต้องนำมาแสดง

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเตรียมเอกสารดังนี้ เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

หลักฐานการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีเลขที่บ้าน

  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
  7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่างๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม
  8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)

 

หลักฐานการขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว (สำหรับใช้ในการก่อสร้าง)

  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง (ถ้ายังไม่ได้ให้ถ่ายใบคำขอมาแทน)
  4. โฉนดที่ดินสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า
  5. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

หมายเหตุ : การขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราวต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัทเอ้าท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย

 

ขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีเลขที่บ้าน

  1. หลังจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ
  2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง
  3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน

 

การขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า

การขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า จากข้อมูลการไฟฟ้านครหลวง มีหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต ดังนี้

  1. ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2553 และข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยอัตราค่าบริการการใช้ไฟฟ้า พ.ศ. 2536
  2. ไม่มีปัญหาแนวเขตทางและการทำงาน รื้อถอนหรือปักเสาพาดสาย
  3. ไม่เป็นการย้ายสายใต้ดิน
  4. เสา สาย และอุปกรณ์ ที่ย้ายมีระยะรวมกันต้องไม่เกิน 25 ต้น
  5. ไม่มีอุปสรรคจากสาธารณูปโภคอื่นที่ติดตั้งหรือพาดบนเสาไฟฟ้า
  6. ถ้าเป็นการย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ไฟฟ้า ของระบบสายส่ง ต้องไม่เกิน 2 ต้น
  7. ผู้ขอย้ายชำระค่าใช้จ่ายครบถ้วนถูกต้อง
  8. การปักเสาและ/หรือพาดสายไฟฟ้าและ/หรือย้ายเสาสายไฟฟ้าในที่ดินของผู้ยื่นคำขอ บุคคลอื่นหรือในที่ดินสาธารณะ หรือมีการพาดสายไฟฟ้าภายในของผู้ยื่นคำขอในที่ดินของบุคคลอื่น

ผู้ยื่นคำขอจะต้องนำเอกสารที่เกี่ยวกับการปักเสาพาดสายไฟฟ้ามาให้ก่อนการดำเนินการ ตามแบบฟอร์มที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด เช่น หนังสือรับรองการย้ายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า สัญญาอนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า หนังสือรับรองการปักเสาพาดสายไฟฟ้าในที่ดินสาธารณะ หนังสือยินยอมให้สายไฟฟ้าภายในผ่านที่

  1. การไฟฟ้านครหลวงจะดำเนินการย้ายเสา สายไฟฟ้า ได้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด เมื่อได้รับเอกสารครบถ้วนถูกต้อง และไม่นับระยะเวลาระหว่างการรอดำเนินการของผู้ขอใช้ไฟฟ้า

 

ระยะเวลาในการดำเนินการขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า

ระยะเวลาในการดำเนินการขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า ระยะเวลาในการดำเนินการรวม 57 วันทำการ แบ่งเป็น

  1. การตรวจสอบเอกสาร รับเรื่องขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดตรวจสอบเอกสาร ระยะเวลา 1 วันทำการ
  2. การพิจารณา สำรวจสถานที่ ทำผัง ออกแบบ และประมาณราคา ระยะเวลา 18 วันทำการ
  3. การพิจารณา รวบรวมค่าใช้จ่าย ออกหนังสือแจ้ง ระยะเวลา 5 วันทำการ
  4. การพิจารณา รับชำระค่าใช้จ่าย ออกคำสั่งงาน ระยะเวลา 9 วันทำการ
  5. ดำเนินการสายนอก ระยะเวลาทำการ 24 วันทำการ

 

เอกสาร และหลักฐานประกอบในการขอย้ายเสา สาย อุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ
  2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล 1 ฉบับ
  3. สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ (กรณีคนต่างด้าว)
  4. สำเนาทะเบียนบ้านาที่มีชื่อผู้ขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า 1 ฉบับ
  5. สำเนาโฉนดที่ดินบริเวณที่ขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า 1 ฉบับ
  6. แผนผังสถานที่ที่ขอย้ายเสา สาย โดยสังเขป ฉบับจริง 1 ฉบับ
  7. หนังสือรับรองการย้ายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า ฉบับจริง 2 ฉบับ (ตามแบบฟอร์มของการไฟฟ้านครหลวง)
  8. หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ต้องมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ฉบับจริง 1 ฉบับ
  9. สัญญาอนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า (กรณีปักเสาพาดสายในที่ดินเอกชน) ฉบับจริง 2 ฉบับ (ตามแบบฟอร์มของการไฟฟ้านครหลวง)
  10. หนังสือรับรองการปักเสาพาดสายไฟฟ้าในที่ดินสาธารณะ (กรณีปักเสาพาดสายในที่ดินสาธารณะ) ฉบับจริง 2 ฉบับ (ตามแบบฟอร์มของการไฟฟ้านครหลวง)

 

สถานที่ติดต่อเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีเลขที่บ้าน หรือขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าทุกแห่ง

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ก่อน สำคัญไฉน ทำไม? ต้องจ่ายค่าส่วนกลางคอนโด
ต่อไป ไอเทมช่วยดูแล “บ้าน” ให้ปลอดภัย โจรไม่ปลื้มอย่างแรง!