เมนู Toggle

POPULAR

เข้าใจ 4 ส่วนประสาน เพื่อการทำงานของ Smart Home อย่างเป็นระบบ

เข้าใจ 4 ส่วนประสาน เพื่อการทำงานของ Smart Home อย่างเป็นระบบ

          เข้าใจ 4 ส่วนประสาน เพื่อการทำงานของ Smart Home อย่างเป็นระบบ

     การจะทำบ้านให้เป็น Smart Home ได้นั้น ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจ ส่วนประกอบต่างๆ ของ Smart Home Solution กันก่อนดีกว่า

 

ในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน เพื่อความเข้าใจง่าย

  1. Smart Devices (IoT: Internet-of-Things):อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือตัวควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า
  2. Middle-Man / Gateway:ตัวกลางเชื่อมต่อระหว่าง Controller และอุปกรณ์
  3. Controller:Application หรือแผงควบคุม สำหรับ Control อุปกรณ์ไฟฟ้า
  4. Voice Controller:การสั่งงานด้วยเสียง แทนการควบคุมผ่าน Application

1. Smart Devices

     Smart Devices, หรืออุปกรณ์ IOT (Internet-of-Things) ก็คือ อุปกรณ์ที่เราใช้งานนั่นเองเช่น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ เป็นต้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ จะเป็น Smart Devices ได้ก็ต่อเมื่อ เชื่อมต่อ Wi-Fi (หรือ ZigBee)” ได้นั่นเอง

            สาเหตุที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ Wi-Fi หรือ ZigBee ได้ ก็เพราะว่า เราอยากให้มันควบคุมผ่าน Application ได้ ซึ่ง Protocol กลาง ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม Smart Home ปัจจุบัน ที่เป็นมาตรฐาน ก็คือ สัญญาณ Wi-Fi และ สัญญาณ ZigBee นั่นเอง

 

2. Middle-man หรือ Gateway

      ส่วนของ Gatewayทำหน้าที่เป็นคนกลางเชื่อมต่อ ระหว่าง Application ที่ใช้ควบคุม กับตัวอุปกรณ์ IoT นั่นเอง อย่างที่บอกในตอนต้นว่า Smart Devices สามารถเชื่อมต่อ ผ่านสัญญาณ W-iFi และ ZigBee ซึ่งในส่วนนี้ ขออนุญาตอธิบายอุปกรณ์ ZigBee ก่อน เพื่อความเข้าใจง่าย

 

ZigBee

     เป็น Protocol การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT แบบหนึ่ง ข้อดีก็คือ ไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาณ Internet  (แต่ยังต้องใช้สัญญาณ Wi-Fi หากต้องการสั่งผ่านมือถือ)

      โดยหลักการคือ อุปกรณ์ IoT ที่เป็น ZigBee (ในที่นี่คือหลอดไฟ) จะส่งสัญญาณ ZigBee เพื่อคุยกับ Remote Controller หรือคุยกับ Gateway เพียงเท่านี้ ก็สามารถควบคุมหลอดไฟได้แล้ว โดยที่ไม่ต้องใช้สัญญาณ Wi-Fi

      แต่หากต้องการ Best Experience จริงๆ ของตัวสินค้า เราจำเป็นต้องพึ่งสัญญาณ Wi-Fi (ไม่ต้องใช้ Internet) เพื่อเชื่อมต่อ Gateway เข้ากับ Application ของผู้ผลิต ซึ่งทำหน้าที่เป็น Controller

Wi-Fi Smart Devices ไม่ต้องใช้ Gateway

      แต่สำหรับอุปกรณ์ประเภท Wi-Fi จะไม่ต้องใช้ตัว Gateway เพราะการคุยกันระหว่าง Controller และ อุปกรณ์ IoT นั้น จะวิ่งอยู่บนสัญญาณ Internet ทำให้เราสามารสั่งการผ่าน App ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ข้อเสียก็คือ อาจจะมี Latency ที่สูงกว่า (ระดับ milliseconds ซึ่งไม่ได้กระทบอะไร) เพราะสัญญาณจะวิ่งออกไปใน Internet แล้วค่อยกลับมาที่ห้องของเรา

 

  1. Controller

      ในส่วนของ Controller ในยุคปัจจุบันนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะเป็น Application มือถือ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็จะเป็น App ของผู้ผลิตสินค้า Smart Devices นั้นๆ

            นอกจากนี้ Application Controller ยังเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่าง อุปกรณ์ IoT กับ Smart Home Solution ค่ายต่างๆ อีกด้วย เช่น Amazon Alexa, Apple HomeKit หรือ Google Assistant นั่นเอง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เราสามารถสั่งงานอุปกรณ์เหล่านี้ได้ด้วยเสียง

 

4. Voice Controller / Smart Home Solution

      ส่วนประกอบ ตัวสุดท้าย ของการทำงาน Smart Home ก็คือ ลำโพงอัจฉริยะ เพื่อการสั่งงานด้วยเสียง หรือ Voice Controller

            ซึ่งในตลาดตอนนี้ มีผู้เล่นหลักๆ อยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 เจ้า นั่นก็คือยักษ์ใหญ่วงการ IT ทั้งสามเจ้า อันได้แก่

  1. Amazon Alexa
  2. Google Home / Google Assistant
  3. Apple HomeKit / Home Pod

            จุดเด่นสำคัญก็คือ การสั่งงานด้วยเสียง นั่นเอง เพราะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นได้มากจริงๆ เราสามารถสั่งเปิดไฟ เปิดแอร์ หรือบอกเจ้าลำโพง “Alexa, good night” เพื่อทำ Routine ต่างๆ (เช่น ปิดแอร์ห้องนั่งเล่น, เปิดไฟ และเครื่องปรับอากาศในห้องนอน) ได้อย่างง่ายดาย

ก่อน 5 อุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย ที่บ้านและคอนโดควรติดตั้ง
ต่อไป JARTON ชวนรู้จัก “มาตรฐาน CE” คืออะไร? สำคัญกับผลิตภัณฑ์อย่างไร