เมนู Toggle

POPULAR

วิธีตรวจเช็กและดูแลรักษากล้องวงจรปิด ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

วิธีตรวจเช็กและดูแลรักษากล้องวงจรปิด ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

           กล้องวงจรปิด CCTV ถือ ว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยป้องกันเหตุอาชญากรรม ลดการสูญเสียในจุดที่มนุษย์ไม่สามารถไปประจำได้เป็นเวลานาน สอดส่องดูแลระบบจราจร ฯลฯ ส่วนใหญ่จะพบว่ากล้องวงจรปิด CCTV มักจะติดอยู่ภายนอกอาคารและมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่พอสมควร เช่น เครื่องบันทึกภาพ (DVR) และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น สายเชื่อมสัญญาณ,แหล่งจ่ายไฟ(Power Supply),จอรับภาพ(Monitor),หัวต่อ(BNC),ขายึด(Bracket) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มักจะเชื่อมสภาพไปตามเวลาและการใช้งาน ฉะนั้นจึงต้องมีการดูแลรักษาเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ ช่วยประหยัดงบประมาณในระยะยาวได้ และโดยทั่วไปมักจะตรวจเช็กในช่วงระยะเวลาทุกๆ 3 เดือน วิธีการตรวจเช็กดูแลรักษาระบบกล้องวงจรปิด CCTV แบ่งตามอุปกรณ์แต่ละส่วนได้ดังนี้

 

กล้องวงจรปิด (Camera)

           - ตรวจเช็กสภาพตัวกล้องหุ้ม (Housing) ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ หากเป็นกล้องภายนอกอาคารตรวจเช็กตัวกล่องและกระจกกล่องกันน้ำว่าอยู่ในสภาพ ดีหรือไม่ หากมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่นพัดลมหรือ Heaterให้ตรวจเช็คว่าพัดลมระบายอากาศหรืออุปกรณ์Heater ยังทำงานอยู่หรือไม่?

           - เลนส์ (Lens) มีฝุ่นเกาะมากจนรบกวนการรับภาพหรือไม่? มีราขึ้นหรือสภาพเลนส์ดีอยู่หรือไม่?

           - ตรวจเช็กแผ่นรับภาพ (CCD) ยังทำงานเป็นปกติหรือไม่?

           - หากเป็นกล้องที่มีอินฟราเรด (IR) ที่สามารถมองตอนกลางคืนได้ ยังสามารถใช้งานได้หรือไม่?

 

อุปกรณ์บันทึกภาพ (Digital Video Recorder : DVR)

           - ตรวจเช็กว่ายังสามารถใช้ได้ครบทั้ง 4 หรือ 8 หรือ 16 Chennel หรือไม่?

           - การบันทึกยังสามารถบันทึกได้ตามปกติหรือไม่ ?

           - ตรวจเช็กการตั้งค่าต่างๆ ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่?

           - ตรวจเช็กการเล่นย้อนกลับ การสำรองข้อมูลใน Hard disk ยังทำงานได้เป็นปกติหรือไม่?

           - ตรวจสอบการเชื่อมต่อคู่สายของแผงสัญญาณหลังกล่องยังใช้ได้หรือไม่?

           - สภาพโดยรวมภายนอกของกล่องและที่ตั้งกล่องเหมาะสมหรือไม่ เสี่ยงต่อความเสียหายหรือไม่?

 

แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)

           - ตรวจสอบกระแสไฟและแรงดันไฟที่จ่ายให้กับกล้องวรจรปิด อยู่ในสภาพปกติหรือไม่?

           - ตรวจสอบจุดต่อของแหล่งจ่ายไฟและกล้อง CCTV อยู่ในสภาพดีหรือไม่?

           - อุปกรณ์ห่อหุ้มแหล่งจ่ายไฟอยู่ในสภาพดีหรือไม่?

 

จอรับสัญญาณภาพ (Monitor)

           - ความคมชัดยังชัดเจนดีหรือไม่?

           - จุดเชื่อมต่อจากเครื่องบันทึกภาพอยู่ในสภาพดีหรือไม่?

           - การตั้งค่าต่างๆ ยังอยู่ในภาวะปกติหรือไม่?

           - สภาพจอโดยรวมมีการชำรุดเสียหายหรือไม่?

           - ระวังอย่าให้ของแข็งหรือน้ำกระทบหน้าจอ

           - ปรับแสงสว่างในจอให้พอเหมาะ เพราะถ้าสว่างเกินไปส่งผลให้จอภาพมีอายุสั้นลงได้

 

สายสัญญาณ (RG) กล้องวงจรปิด CCTV

           - อยู่ในสภาพดีไม่ลอกหรือเปื่อย หรือไม่?

           - แถบยึดสายยังอยู่ในสภาพดี ไม่หลุดหรือเสื่อมสภาพ

           - ไม่ควรรวบสายสัญญาณไว้กับสายไฟ AC เพราะสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจะรบกวนกัน

           - ควรหลีกเลี่ยงการพับหรืองอสายให้มากที่สุดเพราะอาจส่งผลต่อการทำให้สายสัญญาณขาดภายในได้

           - โดยทั่วไประยะการเดินสายสัญญาณจะขึ้นกับมาตรฐานสายสัญญาณ โดยระยะประมาณ 350 เมตรสายสัญญาณชนิด RG59 จะเหมาะเพราะมีขนาดเล็กและยืดหยุ่นสูง ระยะกลางๆประมาณ 450 เมตร เหมาะกับสายสัญญาณชนิด RG6 สามารถเดินสายได้ระยะไกลและราคาถูกและระยะทางไกลในช่วง 750 เมตรสายสัญญาณชนิด RG11 จะเหมาะที่สุด

 

หัวต่อ (BNC)

           - มีจุดชำรุดเสียหายหรือใกล้จะหลุดหรือไม่?

 

ขายึดกล้องวงจรปิด CCTV (Bracket)

           - ตรวจเช็กจุดยึดระหว่างกล้องและขายึด และขายึดกับจุดยึดกับตัวอาคารว่าอยู่ในสภาพดี น๊อตยังอยู่ครบหรือไม่?

           - ปัจจัยการพิจารณาเลือกขายึดกล้องวงจรปิดCCTV คือ น้ำหนักของตัวกล้อง,สภาพแวดล้อมของการใช้งานและวัสดุที่ใช้ทำ

 

ระบบสำรองไฟ (UPS)

           - ตรวจเช็กแบตเตอรีว่ายังใช้งานได้เป็นปกติอยู่หรือไม่?

           - ระยะเวลาของการสำรองไฟฟ้ายังใช้ได้ตามปกติเท่ากับตอนที่ซื้อมาช่วงแรกๆ หรือไม่?

 

           สนใจสินค้า Smart Camera JARTON ผลิตภัณฑ์คุณภาพได้มาตรฐาน คุ้มค่าทุกการใช้งานคลิก

https://www.jarton.co.th/131302.html

ก่อน เคล็ด(ไม่)ลับ เตรียมบ้านให้พร้อมรับหน้าฝน
ต่อไป เลือกใช้ “ฉนวนกันความร้อน” แบบไหน? ให้เหมาะกับบ้านคุณ